หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์คืออะไร?
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็ประกอบด้วยเซลล์ ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถแสดงคุณสมบัติและความ เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ สิ่งมหัศจรรย์เล็ก ๆ เหล่านี้ช่วยในการสร้างผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเซลล์เหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในร่างกายของเรา ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์
มีเซลล์มากมายหลายชนิดที่อยู่ในร่างกายของคนเรา ซึ่งเซลล์แต่ละชนิดก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ในกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจให้ทำงาน ในขณะที่เซลล์ในตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตสารอินซูลินที่จะช่วย ให้ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเซลล์เหล่านี้ได้พัฒนาเป็นเซลล์รูปแบบจำเพาะต่างๆแล้ว มันก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ตัวอื่นได้
ชนิดของ เซลล์
1.เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ( Prokaryotic cells = เซลล์โปรคาริโอต ) ลักษณะเซลล์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร จะเป็นเซลล์ของพืชชั้นต่ำพวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และไมโครพลาสมา
1.1 แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีทั้งชนิดที่เป็นโทษคือทำให้เกิดโรค เจ็บป่วยและชนิดที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย หรือบางชนิดเป็นแบคทีเรียประจำถิ่นในร่างกายของเรา เพื่อช่วยสร้างความสมดุล และคอยป้องกันเชื้อโรคที่เป็นอันตรายได้ระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งเมื่อร่างกายเกิดความอ่อนแอลง เชื้อประจำถิ่นอาจเพิ่มจำนวนมากเกินไปจนทำให้เสียสมดุลและเกิดความผิดปกติได้ แบคทีเรีย จะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่นอาการเจ็บคอ แผลเป็นหนอง ปวด บวม ร้อน เป็นต้น แบคทีเรียมีการสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศคือค่อย ๆ ยืดยาวออกแล้วค่อย ๆ คอด เข้าหากันจนขาดออกจากกัน
1.2 สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Cyanobacteria) จัดเป็นพืชชั้นต่ำสามารถสังเคราะห์แสง ให้ออกซิเจน เปลี่ยนสีของเซลล์ได้ และตรึงไนโตรเจนได้ พบได้ทั่วไปทุกแห่งในโลก ทั้งในน้ำจืด ทะเล น้ำพุร้อน และอาจอยู่รวมกับสิ่งมีชีวิตอื่นได้ทั้งพืชและสัตว์ สาหร่ายในกลุ่มมีการสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ คือค่อยๆยืดยาวออกแล้วค่อยๆคอดเข้าหากันจนขาดออกจากกัน
2. เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ( Eukaryotic cells = เซลล์ยูคาริโอต ) เซลล์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมโครเมตร ตัวอย่างของเซลล์ชนิดนี้ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืชและสัตว์ทั่วๆไป มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร
2.1 เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมมีผนังเซลล์อยู่ด้านนอกมีคลอโรพลาสต์ภายใน เซลล์ไม่มีเซนทริโอลแวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นไ ด้ชัดเจนไม่มีไลโซโซม
2.2 เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรีไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอกไม่มีคลอโรพลาสต์มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์ แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจนมีไลโซโซม
โครงสร้างที่สำคัญหลักๆของเซลล์มี 3 อย่าง
1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane )
มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์ ให้คงรูปอยู่ได้และทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่าง ๆ
2. ไซโตรพลาสซึม ( Cytoplasm)
มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบอื่นๆเซลล์ อาหารซึ่งได้แก่ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน และของเสีย
3. นิวเคลียส ( Nucleus )
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
- นิวคลีโอลัส ( Nucleolus ) ประกอบไปด้วยสารพันธุกรรม DNA และ RNA มีการสร้างโปรตีนให้แก่เซลล์และส่งออกไปใช้นอกเซลล์
- โครมาติน (Chromatin) คือ ร่างแหของโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย DNA หรือยีน ( Gene) โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน DNA เป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต โดยการควบคุมโครงสร้างของโปรตีนให้ได้คุณภาพและปริมาณโปรตีนที่ เหมาะสม
การแบ่งเซลล์?
การแบ่งเซลล์เป็นการช่วยให้ได้จำนวนเซลล์ที่มากขึ้น ทำให้เกิดการเจริญเติบโตในสิ่งมีชีวิต เป็นเพราะการแบ่งเซลล์ช่วยทำให้เกิดเนื้อเยื่อที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโครงสร้างนั้น
ขั้นตอนของการ แบ่งเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1.การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis = คาริโอคิเนซิส) เป็นกระบวนการแบ่งตัวของนิวเคลียส (แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จึงไม่ถือว่ามีนิวเคลียสแท้จริง ไม่มีกระบวนการ Karyokinesis แต่มีการแบ่งสารพันธุกรรมไปสู่เซลล์ใหม่เช่นเดียวกัน) ซึ่งอาจแบ่งนิวเคลียสแบบ mitosis หรือ meiosis ก็ได้
2.การแบ่งไซโตพลาสซึม (Cytokinesis = ไซโตคิเนซิส) เป็นกระบวนการแบ่งตัวต่อจากการแบ่งนิวเคลียสแล้ว เพื่อให้สารที่จำเป็นและ organelles ต่าง ๆ แบ่งไปให้เซลล์ใหม่ ซึ่งถือว่าจำเป็นต่อกระบวนการ metabolism จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และเซลล์มีชีวิตอยู่ได้ (ถ้าเซลล์ไม่มีการแบ่ง Cytoplasm มีแต่การแบ่งนิวเคลียส จะทำให้ได้เซลล์ที่มีหลายนิวเคลียส เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย หรือ เซลล์ราเมือก)
แหล่งที่มา https://www.lib.kmutt.ac.th/